วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การประดิษฐ์ของชำร่วย จากวัสดุและเศษวัสดุที่มีในท้องถิ่น กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพแขนงงานช่างประดิษฐ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

หัวข้อศึกษาค้นคว้า
การพัฒนาและทดลองใช้ชุดการสอน
เรื่อง การประดิษฐ์ของชำร่วย จากวัสดุและเศษวัสดุที่มีในท้องถิ่น กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ
แขนงงานช่างประดิษฐ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้ศึกษา นางรุ้งตะวัน ปุมไธสง ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนอมรสิริสามัคคี
เขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 4 ปีการศึกษา 2547

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ พัฒนาชุดการสอน เรื่อง การประดิษฐ์ของชำร่วย
จากวัสดุและเศษวัสดุที่มีในท้องถิ่น กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ แขนงงานช่างประดิษฐ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอมรสิริสามัคคี สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 37 คน ใช้เวลาในการทดลอง 58 คาบ คาบละ 20 นาที การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วย t – test
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า ชุดการสอน เรื่อง การประดิษฐ์ของชำร่วยจากวัสดุและเศษวัสดุ
ที่มีในท้องถิ่น กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ แขนงงานช่างประดิษฐ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 84.82/85.03 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด สอบผ่านเกณฑ์ ( ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ) ผลการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้และคุณลักษณ์ในการทำงาน พบว่า อยู่ในระดับมาก และการประเมินกระบวนการเรียนรู้และพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด